วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มะแว้งแก้ไอ


สำหรับคนที่มีปัญหา ไอบ่อยๆ หรือ มีเสลด รู็หรือไม่ว่า มีสมุนไพรอยู๋ชนิดนึงที่ช่วยรักษาอาการไอ ได้ชะงัดนัก สมุนไพรที่ว่า คือ มะแว้งต้น นั่นเองครับ มะแว้งต้น นั้นเป็น ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล ยอดอ่อนและต้นอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบหยักเว้า แผ่นใบสีเขียว มีขนนุ่ม ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งหรือซอกใบ ดอกย่อยมี 5-10 ดอก ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉกแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นรูปกรวย ผล รูปทรงกลม ขนาด 1 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวไม่มีลาย ผลสุกสีส้ม เมล็ดแบนจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ใบ ผล

สรรพคุณทางยา ของ มะแว้งต้น

    รากมะแว้งต้น ช่วยขับและลดเสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
    ต้นมะแว้งต้น ช่วยแก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
    ใบมะแว้งต้น ช่วยบำรุงธาตุ แก้วัณโรค แก้ไอ
    ผลมะแว้งต้น ช่วยบำรุงน้ำดี รักษาโรคเบาหวาน แก้ไอ แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้คอแห้ง ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางไต และกระเพาะปัสสาวะ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ไอ และแก้โรคหอบหืด ใช้มะแว้งต้น ผลแก่ ในเด็ก ใช้ 2-3 ผล ใช้เป็นน้ำกระสายยา กวาดแก้ไอ ขับเสมหะ ผู้ใหญ่ ใช้ 10-20 ผล รับประทาน เคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ รับประทานบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
    ใช้ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ใช้มะแว้งต้นโตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก
    สารเคมี

10 วิธีการรับประทานเทื่อสุขภาพที่ดี


 ในแต่ละวันเราจำเป็นต้องทานอาหารมากมาย มีคำนำทางจากหลายสำนักให้กินนั่น ห้ามกินนี่จนไม่รู้จะเชื่อใครดี วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับง่ายๆ ของการกินให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพอย่างเต็มที่มาฝาก

1. รับประทานอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ช่วยเผาผลาญพลังงานให้ดีขึ้น ทำให้คุณกินอาหารในมื้ออื่นๆ น้อยลง

2. เปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร ยอมจ่ายแพงสักนิดใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวัน ปรุงอาหารแทนน้ำมันแบบเดิมที่เคยใช้ เพราะเป็นไขมันที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และมีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี

3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น คนเราควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรเป็นอย่างน้อย (ยกเว้นในรายที่ไตทำงานผิดปกติ) เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย ฟื้นฟูระบบขับถ่าย รักษาระดับความเข้มข้นของเลือด จะทำให้สดชื่นตลอดวันเลยทีเดียว

4. เสริมสร้างแคลเซียมให้กับกระดูก ด้วยการดื่มนม กินปลาตัวเล็กทั้งตัวทั้งก้าง เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผักใบเขียว เพราะแคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้ระบบประสาททำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

5. บอกลาขนมและของกินจุบจิบ ตัดของโปรดประเภทโดนัท คุกกี้ เค้กหน้าครีมหนานุ่ม ออกจากชีวิตบ้าง แล้วหันมากินผลไม้เป็นของว่างแทน วิตามิน และกากใยในผลไม้ มีประโยชน์กว่าไขมัน และน้ำตาลจากขนมหวานเป็นไหนๆ

6. สร้างความคุ้นเคยกับการกินธัญพืชและข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน ข้าวฟ่างและลูกเดือย รวมทั้งข้าวกล้องที่เคยคิดว่าเป็นอาหารนก ได้มีการศึกษาและค้นคว้าแล้ว พบว่า ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมน้ำตาลในเลือดให้สมดุล

7. จัดน้ำชาให้ตัวเอง ทั้งชาดำ ชาเขียว ชาอู่ล่ง หรือเอิร์ลเกรย์ ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ การดื่มชาวันละ 1 ถึง 3 แก้ว ช่วยลดอัตราเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 30%

8. กินให้ครบทุกสิ่งที่ธรรมชาติมี คุณต้องพยายามรับประทานผักผลไม้ต่างๆ ให้หลากสี เป็นต้นว่า สีแดงมะเขือเทศ สีม่วงองุ่น สีเขียวบล็อกเคอรี สีส้มแครอท อย่ายึดติดอยู่กับการกินอะไรเพียงอย่างเดียว เพราะพืชต่างสีกัน มีสารอาหารต่างชนิดกัน แถมยังเป็นการเพิ่มสีสันการกินให้กับคุณด้วย

9. เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนรักปลา การกินปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ได้ทั้งความฉลาดและแข็งแรง เพราะปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีน ที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ และบำรุงเซลล์สมอง ทั้งยังมีไขมันน้อย อร่อย ย่อยง่าย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการหุ่นเพรียวลมเป็นที่สุด

10. กินถั่วให้เป็นนิสัย ทำให้ถั่วเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่คุณต้องกินทุกวัน วันละสัก 2 ช้อน ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว หรือว่าของว่างก็ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญๆ หลายชนิด ต่างพากันไปชุมนุมอยู่ในถั่วเหล่านี้ ควรกินถั่วอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรกินครั้งละมากๆ เพราะมีแคลอรี่สูง อาจทำให้
อ้วนได้

ปวดประจำเดือน


การมีประจำเดือน

สิ่งที่คุณผู้หญิงต้องประสบทุกเดือนคือการมีประจำเดือนนั้นเอง แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีความรู้ เรามาทวนกันว่าประจำเดือนมาได้อย่างไร
อวัยวะสืบพันธ์ของคุณผู้หญิงประกอบไปด้วยมดลูก [uterus] มดลูกจะอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่ ข้างในมดลูกจะมีเยื่อบุมดลูกซึ่งจะหนาตัวเพื่อให้ทารกฝังตัว แต่ถ้าไม่มีการปฏิสนธิ เยื่อบุจะสลายออกมาซึ่งมีส่วนประกอบคือเลือดและเมือกเป็นประจำเดือนออกทางส่วนปลายของมดลูกเรียกปากมดลูก [cervix ] ซึ่งจะเปิดสู่ช่องคลอด [vagina] มดลูกจะมีท่อที่เรียกว่าท่อรังไข่ [fallopian tube] โดยมีรังไข่ [ovary] อยู่ปลายท่อรังไข่ การมีประจำเดือนจะแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่

Follicular (Proliferative) Phase เมื่อประจำเดือนมาเราเรียกวันแรกหรือวันที่หนึ่งของรอบเดือน ปกติประจำเดือนจะมาเฉลี่ย 6 วัน ระยะนี้จะเริ่มตั้งแต่มีประจำเดือนจนกระทั้งวันที่ 14 ของรอบเดือน ระยะที่ประจำเดือนกำลังมาเป็นช่วงที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตเจน และโปรเจสเตอโรน ต่ำสุด จะมีฮอร์โมน Follicular stimulating hormone [FSH] สูงขึ้นทำให้ไข่ในรังไข่สุก ขณะเดียวกันเยื่อบุก็จะหนาตัวเพื่อเตรียมการฝังตัว
Ovulation and Secretory (Luteal) Phase ระยะเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 เป็นต้นไปเมื่อระดับ FSH สูงขึ้นทำให้มีการสร้างฮอร์โมน luteinizing hormone (LH) ฮอร์โมน LH จะทำให้เกิดการตกไข่ Ovulation เนื่อเยื่อรอบๆไข่ที่ตกเรียก corpus luteum จะสร้างฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน ระยะนี้เยื่อบุจะหนาตัวขึ้นอีกเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น เนื่องจากระยะนี้มีระดับฮอร์โมนของโปรเจสเตอโรนสูงทำให้เกิดอาการของ premenstrual period ถ้าไข่ไม่มีการปฏิสนธิเลือดและเมือกในมดลูกก็ถูกขับออกมาเป็นประจำเดือน
ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่อใด

ปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนอายุ 12-13 ปีแต่ก็มีรายงานว่าเด็กมีประจำเดือนเร็วขึ้นบางรายงานอายุ 8 ปีก็มีประจำเดือนและมีขนที่อวัยวะเพศ ปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนมาเร็วคือโรคอ้วน

หนึ่งรอบเดือนมีกี่วัน

ประจำเดือนในช่วงสองปีแรกจะไม่สม่ำเสมอหลังจากนั้นประจำเดือนก็จะสม่ำเสมอ หนึ่งรอบเดือนจะมีประมาณ 20-40 วัน โดยเฉลี่ยของคนปกติรอบเดือนจะมี 28 วัน จำนวนวันขึ้นกับอายุของผู้ที่มีประจำเดือนกล่าวคือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปีจะมีรอบเดือนประมาณ 33 วัน หลังจากอายุ 21 ปีจะมี 28 วัน อายุ 40 ปีจะมีประมาณ 26 วัน

ประจำเดือนจะมากี่วัน

คนปกติจะมีประจำเดือน 6 วันจนกระทั่งเข้าสู่วัยทอง แต่ก็มีผู้หญิงร้อยละ5ที่ประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน ร้อยละ4 มีประจำเดือนมากกว่า 8 วัน

ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน

ไม่มีประจำเดือน Amenorrhea

ประจำเดือนมามาก Menorrhagia

ร้อยละ 9-14 ของผู้หญิงจะมีประจำเดือนมามาก บางคนอาจจะมามากกว่า 7 วันหรือเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 8 ชั่วโมง และมีลิ่มเลือดที่ผ้าอนามัย หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์

สาเหตุ

อย่างน้อยคุณผู้หญิงคงเคยมีประจำเดือนมากอย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต การมีประจำเดือนมากอาจจะไม่มีโรคหรืออาจจะมีโรคก็ได้ ผู้ที่มีเนื้องอกในมดลูก ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด ผู้ที่ใกล้วัยทอง อาจจะมีประจำเดือนมามาก สำหรับผู้ประจำเดือนขาดไป2-3เดือนแล้วมีเลือดออกก็อย่าลืมการแท้งด้วย โรคทางอายุรกรรมบางโรคก็สามารถทำให้เลือดออกมาก เช่นการติดเชื้ออุ้งเชิงกราน โรคธัยรอยด์ โรคเบาหวาน เกร็ดเลือดต่ำ ผู้ที่กินยาป้องกันเลือดแข็ง

ปวดประจำเดือน Dysmenorrhea

มดลูกของคุณผู้หญิงเป็นกล้ามเนื้อการทำงานมีทั้งบีบตัวและคลายตัว มดลูกจะบีบตัวเพื่อไล่เลือดที่อยู่ในมดลูกส่วนมากไม่มีอาการ บางคนอาจจะเกิดอาการเหมือนคนปวดท้องถ่าย แต่บางคนปวดท้องประจำเดือนมาก และปวดถี่สาเหตุอาจจะเป็นเพราะมดลูกบีบตัวแรง เกิดจากกระตุ้นของ prostaglandin หรือมีโรคอื่น เช่น endometriosis อาการปวดอาจจะปวดก่อนมีประจำเดือนหลายวันเมื่อประจำเดือนมาอาการปวดจะดีขึ้น ส่วนใหญ่อาการปวดไม่มาก พบร้อยละ10-15 ที่ปวดมากจนต้องหยุดงานผู้ที่มีอาการปวดมากอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

ที่มา

สาเหตุจากตัวมดลูกเองเรียก primary dysmenorrhea มักจะร่วมกับประจำเดือนมามากเกิดจาก prostaglandinmeทำให้มดลูกบีบตัวมาก การรักษาให้พัก กระเปาะน้ำร้อนวางที่ท้องน้อยหรือหลัง การออกกำลังกาย และการใช้ยาแก้ปวด aspirin, ibuprofen, naproxen นอกจากนั้นอาจจะใช้ยาคุมกำเนิด
รักษาอาการปวดประจำเดือน
ส่วนสาเหตุปวดประจำเดือนที่มาจากสาเหตุอื่นเรียก secondary dysmenorrhea เช่นโรค
premenstrual syndrome (PMS) กลุมอาการก่อนมีประจำเดือน
intrauterine devices (IUDs) used for birth controlการใส่ห่วง
discontinuation of birth control pills การหยุดยาคุมกำเนิด
stress and poor healthความเครียด
pelvic inflammatory diseaseการติดเชื้ออุ้งเชิงกราน
endometriosis คือมีเนื้อเยื่อมดลูกไปอยู่ที่อื่น
และยังมีสาเหตุอื่นอีกมากที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน Premenstrual Syndrome

ปัญหาของการมีประจำเดือนผิดปกติต่อสุขภาพ

อาการปวดท้อง ผู้ป่วยบางคนมีอาการปวดจนกระทั่งทำงานไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะซื้อยารับประทานเอง ยาที่นิยมใช้ได้แก aspirin ,ibuprofen บางคนอาการไม่หายจนต้องไปพึ่งกลุ่มยาแก้ปวดที่เสพติด ถ้าหากมีอาการปวดบ่อยหรือมากควรไปพบแพทย์ตรวจภายใน บางรายอาจจะทำ ultrasound หรือส่องกล้องเข้าไปดูในช่องเชิงกรานเรียก laparoscope
เป็นหมัน ผู้ป่วยที่มีอาการปวดประจำเดือนหรือประจำเดือนมาผิดปกติอาจจะมีโรคที่ทำให้เกิดเป็นหมัน เช่นendometriosis เนื้องอก
โลหิตจาง ผุ้ที่ประจำเดือนมามากและต่อเนื่องอาจจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางซึ่งจะมีอาการเพลีย เหนื่อยง่าย มีเสียงในหู ใจสั่น
กระดูกพรุน ผู้ป่วยที่ไม่มีประจำเดือนมักจะมี estrogen ต่ำซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต หากวินิจฉัยได้ควรจะได้รับฮอร์โมน
Toxic Shock Syndrome ผู้ป่วยที่ประจำเดือนมามากอาจจะใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดทีเดียวสองชิ้นทำให้บางชิ้นค้างไว้ในช่องคลอด ซึ่งหากทิ้งไว้เกิน 4 ชั่วโมงสารพิษที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียจะทำให้เกิดอาการไข้สูง ท้องร่วง เจ็บคอ อ่อนเพลีย ผิวหนังลอก
การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการประจำเดือนผิดปกติ

อาหาร แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพซึ่งประกอบด้วยธัญพืช ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารมันและอาหารสำเร็จรูป การปรับอาหารควรกระทำก่อนมีประจำเดือน 14 วันอาจจะทำให้อาการก่อนมีประจำเดือนดีขึ้น การหลีกเลี่ยงเนื้อแดง นม และอาหารเค็มจะช่วยลดอาการ premenstrual syndrome และอาการปวดประจำเดือน การเพิ่มเนื้อปลาจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนและมีบางรายงานการได้รับ omega 3 จะลดอาการประจำเดือนมามาก มีรายงานว่าวิตามิน บี1ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะทำให้สุขภาพดีขึ้น การออกกำลังมากเกินไปอาจจะทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แต่ยังไม่มีรายงานว่าการออกกำลังกายจะลดอาการปวดท้อง
สมุนไพร ยังไม่มีรายงานว่ามีสมุนไพรชนิดใดจะช่วยลดอาการผิดปกติของประจำเดือน มีรายงานไม่มากที่พูดถึงผลประโยชน์ของ primrose oil ซึ่งช่วยลดอาการปวดประจำเดือน น้ำขิงจะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
การฝังเข็มและการใช้โยคะสามารถลดอาการปวดประจำเดือนได้
การดูแลสุขอนามัย ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ไม่ควรใช้น้ำหอมบริเวณดังกล่าวเนื่องจากจะระคายต่ออวัยวะเพศ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดเนื่องจากจะทำลายสภาพแวดล้อมของช่องคลอด
การใช้ยาเพื่อรักษา

ยาแก้ปวด ยาที่นิยมใช้คือกลุ่ม NSAID ซึ่งมียาที่ใช้ลดอาการปวดประจำเดือนอย่างได้ผลคือ aspirin ibuprofen mefenamic acid ยากลุ่มนี้ลดการสร้าง prostaglandins เพือ่ลดอาการปวดท้องและประจำเดือนมามากการให้ยากลุ่มนี้ควรให้ก่อนมีอาการ 7-10 วัน ยาตัวที่สองคือ paracetamol
การใช้ฮอร์โมนเพื่อการรักษาความผิดปกติของประจำเดือน
ยาคุมกำเนิด ซึ่งมีส่วนประกอบคือ estrogen และ progesterone ยาคุมกำเนิดสามารถนำมารักษาความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนคือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมามากเกินไป ปวดประจำเดือน หรือประจำเดือนไม่มา ผลข้างเคียงและข้อห้ามใช้อ่านในเรื่องยาคุมกำเนิด
Progesterone นอกจากนำมาใช้ในคุมกำเนิดแล้วยังนำมาใช้รักษาผู้ที่ประจำเดือนมามาก หรือประจำเดือนมากระปริดกะปอย
gonadotropin-releasing hormone (GnRH) เป็นฮอร์โมนที่ยับยั้งการสร้าง estrogen ใช้ในการรักษา endometriosis, fibroids, และประจำเดือนมามาก( menorrhagia)ข้อควรระวังสำหรับผู้ใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 6 เดือนอาจจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนเช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา กินยา steroid
Danazolเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เหมือนฮอร์โมนเพศชายใช้ในการรักษา อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea), ประจำเดือนมามาก (menorrhagia), fibroids, และโรค endometriosis

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มดลูกอักเสบ

มดลูกอักเสบ (Endometritis) เป็น การอักเสบของเยื่อบุภายในโพรงมดลูกความเจ็บไข้นี้เป็นโรคที่พบได้สม่ำเสมอในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (15-45 ปี) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผ่านช่องคลอดเข้าไปทางปากมดลูก ขึ้นไปในโพรงมดลูก (ทำให้มดลูกอักเสบ) และถ้าหากลุกลามต่อไปในท่อรังไข่ ก็ทำให้เปลี่ยนแปลงเป็นปีกมดลูกอักเสบ มักจะเรียกรวมๆ กันว่า "อุ้งเชิงกรานอักเสบ" (Pelvic inflammatory disease/PID) ซึ่งครอบคลุมถึงการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ และเยื่อบุช่องท้องภายในอุ้งเชิงกราน โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงที่มีสามีชอบเที่ยว หรือมีเพศสัมพันธ์เสรี ภายหลังคลอดบุตร แท้งบุตร ขูดมดลูก ใส่ห่วงคุมกำเนิด หรือชอบสวนล้างช่องคลอด

สาเหตุ   
1. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบบ่อยก็คือ หนองใน ที่ติดจากสามี หรือผู้ชายที่มีประวัติชอบเที่ยว หรือมีเพศสัมพันธ์เสรี (สำส่อนทางเพศ) บางครั้งก็อาจเกิดจากเชื้อคลามีเดียทราโคมาติส(Chlamydia trachomatis)   
2. การติดเชื้อหลังคลอด (Puerperal infection) อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่เป็นปกติวิสัยในช่องคลอด (เช่น เชื้อสเตรปโตค็อกคัส, สแตฟฟีโลค็อกคัส) ระหว่างคลอดมีปัจจัย (เช่น ภาวะโลหิตจาง, ภาวะถุงน้ำแตกรั่วอยู่นาน, การคลอดยาก, การบาดเจ็บ, ภาวะตกเลือดหลังคลอด, เศษรกค้าง, ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น) กระตุ้นให้เชื้อเหล่านี้เจริญขึ้นจนเป็นโรค หรือไม่ก็อาจแปดเปื้อนเชื้อจากภายนอกช่องคลอด เข้าไปในช่องคลอดและมดลูก ทำให้เกิดมดลูกอักเสบได้ มักเกิดมีอาการหลังคลอด 24 ชั่วโมง   
3. การทำแท้ง หากไม่สะอาดมักทำให้มีเชื้อโรคเข้าในมดลูก เกิดการอักเสบขึ้นได้ เรียกว่า “การแท้งติดเชื้อ” มักมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้องน้อย ตกขาวออกเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็น อาจมีอาการปวดหลังคลื่นไส้ อาเจียน อาจมีประจำเดือนออกมาก และมีกลิ่นเหม็นในรายที่เกิดจากการติดเชื้อหนองใน อาจมีอาการขัดเบา ปัสสาวะปวดแสบขัดร่วมด้วย ถ้าเป็นการติดเชื้อหลังคลอด มักเกิดหลังคลอด 24 ชั่วโมง น้ำคาวปลาอาจออกน้อย หรืออาจออกมากและมีกลิ่นเหม็น ถ้าเกิดจากการทำแท้ง จะมีอาการแบบแท้งบุตรร่วมด้วย คือ ปวดบิดท้องเป็นพัก ๆ และมีเลือดออกจากช่องคลอดร่วมด้วย

สิ่งตรวจพบ
ไข้สูง กดเจ็บมากตรงบริเวณท้องน้อยทั้ง 2 ข้าง (บางรายอาจเจ็บข้างเดียว) อาจได้กลิ่นของตกขาว เลือดประจำเดือน หรือน้ำคาวปลา อาจพบอาการซีด หรือภาวะช็อก

อาการแทรกซ้อน
อาจทำให้เกิดเป็นฝีในรังไข่ หรือท่อรังไข่ ซึ่งจะทำให้เป็นแผลเป็นจนกลายเป็นหมันได้ และมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก มากกว่าปกติ บางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง และเจ็บปวดเวลาร่วมเพศนอกจากนี้ในบางรายเชื้อโรคอาจลุกลาม จนทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ถ้ารุนแรงอาจกลายเป็นโลหิตเป็นพิษ ถึงตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกิดจากการทำแท้ง

การรักษา
ผู้หญิงที่มีไข้สูง ปวดและกดเจ็บตรงท้องน้อย ควรส่งโรงพยาบาลด่วน เพื่อตรวจหาสาเหตุด้วยการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ, นำหนองในช่องคลอดไปตรวจหาเชื้อ รวมทั้งอาจทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ(เช่น อัลตราซาวนด์) การรักษา ผู้ป่วยอาจต้องพักรักษาในโรงพยาบาล ให้การรักษาตามอาการ (เช่นให้น้ำเกลือ ให้เลือดถ้าซีด) และให้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อที่ก่อโรคในรายที่เป็นปีกมดลูกอักเสบเฉียบพลัน จะให้ยาปฏิชีวนะที่สามารถครอบคลุมเชื้อหนองใน และเชื้อคลามีเดีย

ข้อแนะนำ   
1. ผู้ป่วยควรงดการร่วมเพศนาน 3-4 สัปดาห์   
2. ผู้ป่วยที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด ควรเอาห่วงออก และแนะนำให้คุมกำเนิดโดยวิธีอื่นแทน   
3. ถ้าเกิดจากเชื้อหนองใน ต้องรักษาสามีพร้อมกันไปด้วย    
4. โรคนี้อาจแสดงอาการภายหลังการมีประจำเดือน ซึ่งอาการมีไข้หลังมีประจำเดือน

ตกขาวที่ไม่ปกติ
ก็คือ ตกขาวที่ตรงข้ามกับตกขาวปกติ กล่าวคือ มีปริมาณมาก บางครั้งไหลโจ๊กยังกะมีรอบเดือนยังไงยังงั้น มีกลิ่นเหม็น ลักษณะอาจเป็นหนอง มูกปนหนอง ปนเลือด มีฟอง และมักมีอาการอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น คัน แสบ ออกร้อนที่บริเวณปากช่องคลอด หรือมีปวดท้องน้อยร่วมด้วยก็ได้

ต้นเหตุที่ทำให้ตกขาวผิดปกติ ที่พบบ่อย 3 อันดับแรกคือ   
• จากเชื้อแบคทีเรีย (bacterial vaginosis) พบได้ร้อยละ 30-35   
• จากเชื้อรา, ยีสต์ (vulvovaginal candidiasis) พบได้ร้อยละ 20-25    
• จากเชื้อพยาธิ trichomoniasis พบได้ร้อยละ 10

ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่พบเชื้อสองชนิดหรือมากว่าสองชนิด อยู่ร้อยละ 15-20
เชื้อ 3 ตัวนี้พบร้อยละ 90 ของผู้ป่วยตกขาวผิดปกติ

สาเหตุของการตกขาวผิดปกติ แบ่งตามตำแหน่งที่เกิดคือ   
1. ช่องคลอดอักเสบ ที่พบบ่อยคือ - แบคทีเรีย (bacterial vaginosis)   
• เชื้อพยาธิ (trichomonas)   
• เชื้อรา (candida)   
• เชื้อไวรัส เช่น โรคเริม   
• เชื้อแบคทีเรียอื่นๆ   
2. ปากมดลูกอักเสบ - การติดเชื้อหนองใน   
• การติดเชื้อคลามิเดีย   
• การติดเชื้อเริม   
3. ปากมดลูกมีแผล, เป็นเนื้องอก   
4. สิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด เช่น เศษกระดาษทิชชู, สำสี, ผ้าก็อซ, เมล็ดผลไม้, ถุงยางอนามัย เป็นต้น   
5. เนื้องอกและมะเร็งมดลูก, ปากมดลูก ซึ่งตกขาวจะมีกลิ่นเหม็นมาก   
6. สตรีวัยหมดระดู ขาดฮอร์โมน ก็ทำให้เกิดช่องคลอดแห้งอักเสบ มีตกขาวได้ ในวัยเจริญพันธุ์ มักเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์