วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปวดประจำเดือน


การมีประจำเดือน

สิ่งที่คุณผู้หญิงต้องประสบทุกเดือนคือการมีประจำเดือนนั้นเอง แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีความรู้ เรามาทวนกันว่าประจำเดือนมาได้อย่างไร
อวัยวะสืบพันธ์ของคุณผู้หญิงประกอบไปด้วยมดลูก [uterus] มดลูกจะอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่ ข้างในมดลูกจะมีเยื่อบุมดลูกซึ่งจะหนาตัวเพื่อให้ทารกฝังตัว แต่ถ้าไม่มีการปฏิสนธิ เยื่อบุจะสลายออกมาซึ่งมีส่วนประกอบคือเลือดและเมือกเป็นประจำเดือนออกทางส่วนปลายของมดลูกเรียกปากมดลูก [cervix ] ซึ่งจะเปิดสู่ช่องคลอด [vagina] มดลูกจะมีท่อที่เรียกว่าท่อรังไข่ [fallopian tube] โดยมีรังไข่ [ovary] อยู่ปลายท่อรังไข่ การมีประจำเดือนจะแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่

Follicular (Proliferative) Phase เมื่อประจำเดือนมาเราเรียกวันแรกหรือวันที่หนึ่งของรอบเดือน ปกติประจำเดือนจะมาเฉลี่ย 6 วัน ระยะนี้จะเริ่มตั้งแต่มีประจำเดือนจนกระทั้งวันที่ 14 ของรอบเดือน ระยะที่ประจำเดือนกำลังมาเป็นช่วงที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตเจน และโปรเจสเตอโรน ต่ำสุด จะมีฮอร์โมน Follicular stimulating hormone [FSH] สูงขึ้นทำให้ไข่ในรังไข่สุก ขณะเดียวกันเยื่อบุก็จะหนาตัวเพื่อเตรียมการฝังตัว
Ovulation and Secretory (Luteal) Phase ระยะเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 เป็นต้นไปเมื่อระดับ FSH สูงขึ้นทำให้มีการสร้างฮอร์โมน luteinizing hormone (LH) ฮอร์โมน LH จะทำให้เกิดการตกไข่ Ovulation เนื่อเยื่อรอบๆไข่ที่ตกเรียก corpus luteum จะสร้างฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน ระยะนี้เยื่อบุจะหนาตัวขึ้นอีกเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น เนื่องจากระยะนี้มีระดับฮอร์โมนของโปรเจสเตอโรนสูงทำให้เกิดอาการของ premenstrual period ถ้าไข่ไม่มีการปฏิสนธิเลือดและเมือกในมดลูกก็ถูกขับออกมาเป็นประจำเดือน
ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่อใด

ปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนอายุ 12-13 ปีแต่ก็มีรายงานว่าเด็กมีประจำเดือนเร็วขึ้นบางรายงานอายุ 8 ปีก็มีประจำเดือนและมีขนที่อวัยวะเพศ ปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนมาเร็วคือโรคอ้วน

หนึ่งรอบเดือนมีกี่วัน

ประจำเดือนในช่วงสองปีแรกจะไม่สม่ำเสมอหลังจากนั้นประจำเดือนก็จะสม่ำเสมอ หนึ่งรอบเดือนจะมีประมาณ 20-40 วัน โดยเฉลี่ยของคนปกติรอบเดือนจะมี 28 วัน จำนวนวันขึ้นกับอายุของผู้ที่มีประจำเดือนกล่าวคือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปีจะมีรอบเดือนประมาณ 33 วัน หลังจากอายุ 21 ปีจะมี 28 วัน อายุ 40 ปีจะมีประมาณ 26 วัน

ประจำเดือนจะมากี่วัน

คนปกติจะมีประจำเดือน 6 วันจนกระทั่งเข้าสู่วัยทอง แต่ก็มีผู้หญิงร้อยละ5ที่ประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน ร้อยละ4 มีประจำเดือนมากกว่า 8 วัน

ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน

ไม่มีประจำเดือน Amenorrhea

ประจำเดือนมามาก Menorrhagia

ร้อยละ 9-14 ของผู้หญิงจะมีประจำเดือนมามาก บางคนอาจจะมามากกว่า 7 วันหรือเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 8 ชั่วโมง และมีลิ่มเลือดที่ผ้าอนามัย หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์

สาเหตุ

อย่างน้อยคุณผู้หญิงคงเคยมีประจำเดือนมากอย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต การมีประจำเดือนมากอาจจะไม่มีโรคหรืออาจจะมีโรคก็ได้ ผู้ที่มีเนื้องอกในมดลูก ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด ผู้ที่ใกล้วัยทอง อาจจะมีประจำเดือนมามาก สำหรับผู้ประจำเดือนขาดไป2-3เดือนแล้วมีเลือดออกก็อย่าลืมการแท้งด้วย โรคทางอายุรกรรมบางโรคก็สามารถทำให้เลือดออกมาก เช่นการติดเชื้ออุ้งเชิงกราน โรคธัยรอยด์ โรคเบาหวาน เกร็ดเลือดต่ำ ผู้ที่กินยาป้องกันเลือดแข็ง

ปวดประจำเดือน Dysmenorrhea

มดลูกของคุณผู้หญิงเป็นกล้ามเนื้อการทำงานมีทั้งบีบตัวและคลายตัว มดลูกจะบีบตัวเพื่อไล่เลือดที่อยู่ในมดลูกส่วนมากไม่มีอาการ บางคนอาจจะเกิดอาการเหมือนคนปวดท้องถ่าย แต่บางคนปวดท้องประจำเดือนมาก และปวดถี่สาเหตุอาจจะเป็นเพราะมดลูกบีบตัวแรง เกิดจากกระตุ้นของ prostaglandin หรือมีโรคอื่น เช่น endometriosis อาการปวดอาจจะปวดก่อนมีประจำเดือนหลายวันเมื่อประจำเดือนมาอาการปวดจะดีขึ้น ส่วนใหญ่อาการปวดไม่มาก พบร้อยละ10-15 ที่ปวดมากจนต้องหยุดงานผู้ที่มีอาการปวดมากอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

ที่มา

สาเหตุจากตัวมดลูกเองเรียก primary dysmenorrhea มักจะร่วมกับประจำเดือนมามากเกิดจาก prostaglandinmeทำให้มดลูกบีบตัวมาก การรักษาให้พัก กระเปาะน้ำร้อนวางที่ท้องน้อยหรือหลัง การออกกำลังกาย และการใช้ยาแก้ปวด aspirin, ibuprofen, naproxen นอกจากนั้นอาจจะใช้ยาคุมกำเนิด
รักษาอาการปวดประจำเดือน
ส่วนสาเหตุปวดประจำเดือนที่มาจากสาเหตุอื่นเรียก secondary dysmenorrhea เช่นโรค
premenstrual syndrome (PMS) กลุมอาการก่อนมีประจำเดือน
intrauterine devices (IUDs) used for birth controlการใส่ห่วง
discontinuation of birth control pills การหยุดยาคุมกำเนิด
stress and poor healthความเครียด
pelvic inflammatory diseaseการติดเชื้ออุ้งเชิงกราน
endometriosis คือมีเนื้อเยื่อมดลูกไปอยู่ที่อื่น
และยังมีสาเหตุอื่นอีกมากที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน Premenstrual Syndrome

ปัญหาของการมีประจำเดือนผิดปกติต่อสุขภาพ

อาการปวดท้อง ผู้ป่วยบางคนมีอาการปวดจนกระทั่งทำงานไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะซื้อยารับประทานเอง ยาที่นิยมใช้ได้แก aspirin ,ibuprofen บางคนอาการไม่หายจนต้องไปพึ่งกลุ่มยาแก้ปวดที่เสพติด ถ้าหากมีอาการปวดบ่อยหรือมากควรไปพบแพทย์ตรวจภายใน บางรายอาจจะทำ ultrasound หรือส่องกล้องเข้าไปดูในช่องเชิงกรานเรียก laparoscope
เป็นหมัน ผู้ป่วยที่มีอาการปวดประจำเดือนหรือประจำเดือนมาผิดปกติอาจจะมีโรคที่ทำให้เกิดเป็นหมัน เช่นendometriosis เนื้องอก
โลหิตจาง ผุ้ที่ประจำเดือนมามากและต่อเนื่องอาจจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางซึ่งจะมีอาการเพลีย เหนื่อยง่าย มีเสียงในหู ใจสั่น
กระดูกพรุน ผู้ป่วยที่ไม่มีประจำเดือนมักจะมี estrogen ต่ำซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต หากวินิจฉัยได้ควรจะได้รับฮอร์โมน
Toxic Shock Syndrome ผู้ป่วยที่ประจำเดือนมามากอาจจะใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดทีเดียวสองชิ้นทำให้บางชิ้นค้างไว้ในช่องคลอด ซึ่งหากทิ้งไว้เกิน 4 ชั่วโมงสารพิษที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียจะทำให้เกิดอาการไข้สูง ท้องร่วง เจ็บคอ อ่อนเพลีย ผิวหนังลอก
การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการประจำเดือนผิดปกติ

อาหาร แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพซึ่งประกอบด้วยธัญพืช ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารมันและอาหารสำเร็จรูป การปรับอาหารควรกระทำก่อนมีประจำเดือน 14 วันอาจจะทำให้อาการก่อนมีประจำเดือนดีขึ้น การหลีกเลี่ยงเนื้อแดง นม และอาหารเค็มจะช่วยลดอาการ premenstrual syndrome และอาการปวดประจำเดือน การเพิ่มเนื้อปลาจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนและมีบางรายงานการได้รับ omega 3 จะลดอาการประจำเดือนมามาก มีรายงานว่าวิตามิน บี1ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะทำให้สุขภาพดีขึ้น การออกกำลังมากเกินไปอาจจะทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แต่ยังไม่มีรายงานว่าการออกกำลังกายจะลดอาการปวดท้อง
สมุนไพร ยังไม่มีรายงานว่ามีสมุนไพรชนิดใดจะช่วยลดอาการผิดปกติของประจำเดือน มีรายงานไม่มากที่พูดถึงผลประโยชน์ของ primrose oil ซึ่งช่วยลดอาการปวดประจำเดือน น้ำขิงจะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
การฝังเข็มและการใช้โยคะสามารถลดอาการปวดประจำเดือนได้
การดูแลสุขอนามัย ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ไม่ควรใช้น้ำหอมบริเวณดังกล่าวเนื่องจากจะระคายต่ออวัยวะเพศ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดเนื่องจากจะทำลายสภาพแวดล้อมของช่องคลอด
การใช้ยาเพื่อรักษา

ยาแก้ปวด ยาที่นิยมใช้คือกลุ่ม NSAID ซึ่งมียาที่ใช้ลดอาการปวดประจำเดือนอย่างได้ผลคือ aspirin ibuprofen mefenamic acid ยากลุ่มนี้ลดการสร้าง prostaglandins เพือ่ลดอาการปวดท้องและประจำเดือนมามากการให้ยากลุ่มนี้ควรให้ก่อนมีอาการ 7-10 วัน ยาตัวที่สองคือ paracetamol
การใช้ฮอร์โมนเพื่อการรักษาความผิดปกติของประจำเดือน
ยาคุมกำเนิด ซึ่งมีส่วนประกอบคือ estrogen และ progesterone ยาคุมกำเนิดสามารถนำมารักษาความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนคือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมามากเกินไป ปวดประจำเดือน หรือประจำเดือนไม่มา ผลข้างเคียงและข้อห้ามใช้อ่านในเรื่องยาคุมกำเนิด
Progesterone นอกจากนำมาใช้ในคุมกำเนิดแล้วยังนำมาใช้รักษาผู้ที่ประจำเดือนมามาก หรือประจำเดือนมากระปริดกะปอย
gonadotropin-releasing hormone (GnRH) เป็นฮอร์โมนที่ยับยั้งการสร้าง estrogen ใช้ในการรักษา endometriosis, fibroids, และประจำเดือนมามาก( menorrhagia)ข้อควรระวังสำหรับผู้ใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 6 เดือนอาจจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนเช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา กินยา steroid
Danazolเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เหมือนฮอร์โมนเพศชายใช้ในการรักษา อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea), ประจำเดือนมามาก (menorrhagia), fibroids, และโรค endometriosis